การทำรายการซื้อขายทาง Internet
คลิกเพิ่มค่า การลงทุน
บริการซื้อขายกองทุนรวมทาง Internet ผ่านบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง
ขอแนะนำบริการซื้อขายกองทุนรวมทาง Internet ผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking)
ของธนาคารกรุงเทพ
บริการที่มอบความสะดวก รวดเร็ว ด้านการลงทุนในกองทุนรวมให้ท่านได้ทุกที่ ทุกเวลา
ทันทุกสถานการณ์ ครอบคลุมทุกธุรกรรมการลงทุน
- ซื้อหน่วยลงทุน
- ขายหน่วยลงทุน
- สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน
- สอบถามยอดหน่วยลงทุนคงเหลือ
สมัครง่ายๆด้วยตนเอง ที่ธนาคารกรุงเทพได้แล้ว วันนี้
เอกสารประกอบการสมัคร
- บัตรประชาชน หรือบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักและมีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ ,หนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ)
- สมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน (Passbook)
- สมุดบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงเทพ
- ใบอนุญาตทำงานที่ยังไม่หมดอายุ หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (กรณีเป็นชาวต่างชาติ)
ท่านสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.bangkokbank.com/ibanking
1. การสมัครใช้บริการ
กรณีที่ 1 : ท่านที่เป็นผู้ใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิง้ (Bualuang iBanking) และเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมที่ธนาคารเป็นผู้สนับสนุนการขายฯ แล้ว
ท่านสามารถติดต่อที่สาขาของธนาคารกรุงเทพ เพื่อลงทะเบียนเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ขึ้นต้นด้วย 888 และ/หรือ 889 ของกองทุนกับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking) พร้อมเอกสารดังนี้
- สมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน (Passbook)
- สมุดบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงเทพ
- บัตรประชาชน หรือบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักและมีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้
- หนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ)
ท่านจะใช้บริการกองทุนรวมผ่านบริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้งได้ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ท่านมาติดต่อที่สาขา
กรณีที่ 2 : ท่านที่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมที่ธนาคารเป็นผู้สนับสนุนการขายฯ อยู่แล้ว แต่ยังไม่เคยใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking)
ท่านสามารถติดต่อที่สาขาของธนาคารกรุงเทพ เพื่อสมัครใช้ บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking) และลงทะเบียนเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ขึ้นต้นด้วย 888 และ/หรือ 889 ของกองทุนกับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking) พร้อมเอกสารดังนี้
- สมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน (Passbook)
- สมุดบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงเทพ
- บัตรประชาชน หรือบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักและมีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้
- หนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ)
- ใบอนุญาตทำงานที่ยังไม่หมดอายุ หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (กรณีเป็นชาวต่างชาติ)
ภายใน 7 วันทำการนับจากวันที่ท่านมาติดต่อที่สาขา ท่านจะได้รับเลขประจำตัวลูกค้า (User ID) ผ่านทางอีเมล และได้รับรหัสลับแรกเข้า (PIN) ทางไปรษณีย์ เพื่อเข้าใช้บริการกองทุนรวมผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
กรณีที่ 3 : ท่านที่เป็นผู้ใช้บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking) แต่ยังมิได้เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนเปิดที่ธนาคารเป็น ผู้สนับสนุนการขายฯ
•ท่านสามารถติดต่อที่สาขาของธนาคารกรุงเทพ (ยกเว้นสาขาไมโคร) เพื่อเปิดบัญชีกองทุนและซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม และลงทะเบียนเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ขึ้นต้นด้วย 888 และ/หรือ 889 ของกองทุนกับบริการบัวหลวง ไอแบงก์ กิ้ง (Bualuang iBanking) พร้อมเอกสารดังนี้
- สมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน (Passbook)
- สมุดบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงเทพ
- บัตรประชาชน หรือบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักและมีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้
- หนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ)
ท่านจะใช้บริการได้ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ท่านมาติดต่อที่สาขา
กรณีที่ 4 : ท่านที่ยังไม่เป็นผู้ใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิง้ (BualuangiBanking) และยังไม่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมที่ธนาคารเป็นผู้สนับสนุนการขายฯ
ท่านสามารถติดต่อที่สาขาของธนาคารกรุงเทพ (ยกเว้นสาขาไมโคร) เพื่อเปิดบัญชีกองทุน และซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม และสมัครใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking) พร้อมลงทะเบียนเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ขึ้นต้นด้วย 888 และ/หรือ 889 ของกองทุนกับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking) พร้อมเอกสารดังนี้
- สมุดบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงเทพ
- บัตรประชาชน หรือบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักและมีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้
- หนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ)
ภายใน 7 วันทำการนับจากวันที่ท่านมาติดต่อที่สาขา ท่านจะได้รับเลขประจำตัวลูกค้า (User ID) ผ่านทางอีเมล และได้รับรหัสลับแรกเข้า (PIN) ทางไปรษณีย์ เพื่อเข้าใช้บริการกองทุนรวมผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
2. ขั้นตอนการใช้บริการ(เมื่อลูกค้าได้รับ User Name และ Password แล้ว)
- เข้าสู่ website ของธนาคารกรุงเทพ : www.bangkokbank.com/ibanking หรือ website ของ บลจ.บัวหลวง เพื่อเชื่อมต่อไปที่บัวหลวงไอแบงก์กิ้งของธนาคารกรุงเทพ : www.bblam.co.th
- Log on เข้าบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking) ด้วย เลขประจำตัวลูกค้า (User ID)และ รหัสลับแรกเข้า (PIN) หรือ รหัสลับส่วนตัว(Password) ระบบจะแสดงหน้าจอสรุปรายการบัญชี (My Account page)ที่มีรายละเอียดเลขที่บัญชีกองทุนรวมที่ลูกค้าได้ลงทะเบียนไว้
- เลือกเลขที่บัญชีกองทุนที่ต้องการทำรายการ หรือ Click ที่เมนูการลงทุน(Investment) ระบบจะแสดงหน้าจอที่มีคำเตือนที่ถูกต้องตามประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต. (SEC Disclaimer) กรุณาเลือกกด “ยอมรับ” จึงจะสามารถทำรายการกองทุนรวมผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking) ได้
3. เงื่อนไข และรายละเอียดที่สำคัญ
- ผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะทำรายการส่งคำสั่งกองทุนรวมผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking) ต้องเป็นบุคคลคนเดียวกันกับผู้ใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking)
- ท่านสามารถทำรายการคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากของท่านเพื่อซื้อหน่วยลงทุนให้กับตนเองเท่านั้น ไม่สามารถหักเงินจากบัญชีเงินฝากของท่านเพื่อซื้อหน่วยลงทุนให้กับบุคคลอื่นได้
- ท่านสามารถทำรายการคำสั่งกองทุนรวมผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง(Bualuang iBanking) ได้ทุกวัน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้การส่งคำสั่งซื้อ/ขาย/สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนภายในเวลา 16.00 น. ของวันทำการของธนาคาร จะได้รับราคาหน่วยลงทุน ณ วันที่ทำรายการ ส่วนการส่งคำสั่งซื้อ/ขาย/สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนหลังเวลา 16.00 น. ท่านจะได้รับราคาหน่วยลงทุนในวันทำการถัดไป
- หากวันที่ทำรายการตรงกับวันหยุดทำการของธนาคาร ระบบงานจะเก็บข้อมูลไว้รอดำเนินการในวันทำการถัดไป
- ท่านสามารถทำรายการส่งคำสั่งซื้อ / ขาย / สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนกองทุนรวม ได้ไม่เกิน 10,000,000 บาท/ครั้ง หรือ 1,000,000 หน่วย/ครั้ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการทำรายการต่อวัน
- ท่านสามารถเลือกส่งคำสั่งการทำรายการกองทุนได้ล่วงหน้า แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 12 เดือนนับจากวันที่ทำรายการ
- การทำรายการคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง(Bualuang iBanking) หลังจากระบบงานทำรายการขายคืนเสร็จสมบูรณ์ระบบงานจะคืนเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้กับลูกค้าตามวิธีที่ท่านระบุไว้ในใบคำขอเปิดบัญชีกองทุน หรือตามที่แจ้งไว้กับธนาคาร ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการทำรายการขายคืนหน่วยลงทุนผ่านสาขา หรือผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ได้แก่ ATM และบัวหลวงโฟน 1333