กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- จัดตั้งขึ้น ด้วยความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้าง
- โดย ลูกจ้างจ่ายเงินสะสม และนายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน
- สิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนเมื่อเกษียณอายุจะอยู่ในรูปของเงินก้อน หรือ ทยอยรับเป็นงวด
- จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้าง โดยเป็นการสร้างหลักประกันแก่ลูกจ้าง เมื่อออกจากงานหรือเกษียณอายุ
- เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง นายจ้าง กับ ลูกจ้าง
- เพื่อเป็นการส่งเสริมการระดมเงินออมผูกพันระยะยาวจากภาคเอกชน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นายจ้าง
- เป็นแรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้างให้อยู่กับองค์กรนานขึ้น
- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่นายจ้างว่ามีสวัสดิการที่มั่นคง
- เงินสมทบ จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีของบริษัทตามจำนวนที่จ่ายจริง
- แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง ของพนักงานแต่ละราย
- เป็นหนึ่งในข้อกำหนด ของการพิจารณารับเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ลูกจ้าง
- เป็นหลักประกันแก่ตนเองและครอบครัว เมื่อออกจากงานหรือเกษียณอายุ
- เป็นหนึ่งในช่องทางการออมระยะยาว เพื่อรองรับการเกษียณอายุ
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็น นิติบุคคล แยกต่างหากจาก นิติบุคคลของนายจ้าง และ นิติบุคคลของผู้จัดการกองทุน ทำให้มีความมั่นคง ปลอดภัย
- เงินออมอยู่ภายใต้การบริหารของมืออาชีพ
- ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ทั้งเงินสะสมที่นำส่งเข้ากองทุน ผลประโยชน์ที่เกิดจากการลงทุน และเงินที่ได้รับเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ
องค์ประกอบเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
"จำนวนเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะได้จากเงินสะสมเข้ามาทั้งจากนายจ้างและลูกจ้าง อีกทั้งยังมีโอกาสได้เพิ่มขึ้นจากผลตอบแทนลงทุน"
นายจ้าง
เงินส่วนแรกมาจากการสบทบเงินเข้ากองทุนจากนายจ้าง และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสมทบ
- นายจ้างมีเงินสมทบ* 2%-15% ของเงินเดือน นำส่งกองทุน
- ผลประโยชน์จากเงินสมทบ
ลูกจ้าง
อีกส่วนหนึ่งมาจากเงินสะสมของลูกจ้าง
- พนักงานนำส่งเงินสะสม* 2%-15% ของค่าจ้างเข้ากองทุน
- ผลประโยชน์จากเงินสะสม
ทั้งนี้สำหรับลูกจ้างสามารถนำเงินสะสมไปยกเว้นภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
*เงินสะสมและเงินสมทบ ต้องนำส่ง ภายใน 3 วันทำการของบริษัทนายจ้าง นับจากวันที่จ่ายค่าจ้าง
ในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน หรือลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุน เงินในแต่ละส่วนจะได้รับไม่เหมือนกัน โดย เงินสะสมของลูกจ้างจะได้รับคืนทั้งหมด ขณะที่เงินสมทบจากนายจ้าง ลูกจ้างจะได้รับตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ